ลุกก็โอย นั่งก็โอย อาการแบบนี้เป็นสัญญาณเตือนของคนที่เป็นโรคกระดูกหรือข้อเข่าเสื่อม ซึ่งเกิดจากปัญหาสุขภาพ และความเสื่อมตามวัย ปัญหาปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ ตามกระดูก ดูจะเป็นเรื่องปกติที่พบเห็นในวัยสูงอายุ แต่ขอบอกเลยว่า เป็นแล้วโคตรทรมานมาก คนอื่นอาจจะมองว่าเป็นเรื่องธรรมดาของคนสูงอายุ แต่สำหรับผู้สูงอายุเอง อาการเหล่านี้มันไม่ธรรมดาเลย
อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ และ กระดูก ซึ่งวัยหนุ่มสาวก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่น แต่ส่วนมากจะพบเห็นในวัยผู้สูงอายุ หรือวัยที่เข้าสู่วัยทอง เช่น คุณลุง คุณป้า คุณตา คุณยาย หรือแม้แต่พ่อแม่ของเราเอง เรามักจะเคยได้ยินท่านบ่นบ่อยๆใช่ไหมคะ ว่าปวดขาบ้าง ปวดเมื่อยบ้าง ปวดตามข้อบ้าง ซึ่ง
อาการเหล่านี้มีสาเหตุมาจาก
ความเสื่อมของกระดูกอ่อนข้อต่อ
เกิดจากการเสื่อมที่ไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิม และมีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพได้ ซึ่งส่วนมากก็จะมีโรคอื่นร่วมด้วย เช่น โรคเก๊าท์ ส่งผลทำให้การรับแรงของข้อเข่าเปลี่ยนไป
เกิดจากอายุ
โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นปัญหาของวัยผู้สูงอายุ หรือวัยทอง ซึ่งร้อยละ 10 มีปัจจัยเสี่ยงมาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น
น้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น
การออกกำลังกายที่ข้อต่อโดนกระทบอย่างรุนแรง การนั่งที่มีผลต่อข้อเข่า เข่น การนั่งคุกเข่า การนั่งยองๆ นั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ นานๆ บ่อยๆ ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคข้อเข้าเสื่อม
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
การได้รับการบาดเจ็บของข้อ ก็เป็นสาเหตุที่ทำทำให้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม และเกิดการปวดตามข้อ ตามเข่า
ซึ่งลักษณะอาการของผู้สูงอายุหรือวัยทอง ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ปวดเมื่อยตามข้อ ตามเข่า ก็จะเริ่มจากรู้สึกปวดเข่า เป็นๆ หายๆ นั่งพักสักครู่ก็จะหาย แล้วจะมีอาการปวดเข่ามากขึ้นในช่วงกลางคืน ทำให้ผู้สูงอายุทรมาน นอนไม่หลับ เมื่อสังเกตดูตรงข้อเข่าจะมีลักษณะผิดรูปไปจากเดิม หรือมีอาการบวม มีเสียงดังกรอบแกรบเวลาลุก เวลาเดิน จนอาจถึงขาโก่งงอ
ฟังดูแล้วก็น่าสงสารผู้สูงอายุ พ่อแม่ ปู่ย่า ตายายของเรา ท่านแก่แล้ว ยังต้องมาทรมานกับอาการปวดเมื่อยตามข้อ ตามเข่า จะลุกจะเดินก็ลำบาก ดังนั้นเราไปหาวิธีที่จะดูแลท่านให้บรรเทาจากอาการปวดเหล่านี้กันค่ะ
การดูแล รักษา ผู้สูงอายุที่ข้อเข่าเสื่อม
1 ใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น ไม้เท้า สนับเข่า เพื่อช่วยเสริมความมั่นคงให้กับเข่า และยังช่วยลดอาการปวดเข่าได้ด้วย
2 ลดน้ำหนัก ด้วยการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย เพื่อลดความเจ็บปวดในการรับน้ำหนักตัวของข้อเข่า และเพิ่มการใช้งานของหัวข้อเข่าของผู้สูงอายุ
3 การฝังเข็ม การใช้นามแม่เหล็ก การใช้ความร้อน ข้อนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย เพราะถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยรักอาการปวดข้อเข่า หรือโรคเข่าเสื่อมได้
4 รักษาด้วยแพทย์เฉพาะทาง คือ เข้าการตรวจรักษาที่สถานพยาบาลโดยตรงกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกโดยตรง
5 แพทย์แผนโบราณ เช่น การนวดประคบสมุนไพร
การดูแลรักษาอาการปวดเมื่อย ข้อเข่าเสื่อม ผู้สูงอายุ สามารถดูแลได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็น การควบคุมน้ำหนัก ด้วยการออกำลังกาย หลีกเลี่ยงท่านั่งที่ทำให้มีผลต่อข้อเข่า เช่น นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า การใช้ส้วม ก็ควรใช้แบบชักโครก ไม่ควรใช้ส้วมซึม เพราะจะทำให้ปวดเข่ามากขึ้น และควรเสริมด้วยท่าบริหารเข่า เช่น ปั่นจักรยาน เดินช้าๆ หรือออกกำลังกายในน้ำ และไปตรวจสุขภาพประจำปี หากปฏิบัติตามคำแนะนำ ก็ทำให้ลดอาการปวดข้อเข่า และอาการปวดเมื่อยต่างๆ ทำให้มีสุขภาพที่แข็งแรง สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ